บร็อคโคลี่ (Broccoli) เป็นผักที่มีต้นกำเนิดมาจากเมืองหนาว เช่น ทวีปยุโรป แถวๆประเทศอิตาลี โดยบร็อคโคลี่ได้มีการนำเข้ามาปลูกในไทยแถวจังหวัด เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี และกรุงเทพ ซึ่งบร็อคโคลี่นั้นเป็นผักที่มีประโยชน์มากมาย และมีราคาสูง เพราะเป็นผักเมืองหนาว เราจึงมีวิธีการปลูกบร็อคโคลี่มาแนะนำ เพื่อให้เป็นแนวทางในการสร้างอาชีพให้กับเกษตรกรด้วย

ต้นบร็อคโคลี่ มีลักษณะเป็นทรงพุ่มใหญ่เก้งก้าง ลำต้นใหญ่และอวบ ลักษณะของดอกมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มช่อหนาแน่นมีสีเขียวเข้ม ส่วนลักษณะของใบจะกว้างมีสีเขียวเข้มออกเทา ริมขอบใบหยัก ตามปกติแล้วเราจะนิยมบริโภคในส่วนที่เป็นดอกและในส่วนของลำต้นจะนิยมรองลงมา แต่คุณค่าทางอาหารกลับมีอยู่มากในส่วนของลำต้น ดังนั้นการรับประทานทั้งสองส่วน ร่างกายก็จะได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด

วิธีการปลูกบร็อคโคลี่

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

          บร็อคโคลี่  ต้องการสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกับกะหล่ำดอกทั่วไป  คือชอบดินร่วน มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง  6-6.5  มีความชื้นดินที่เหมาะสม  และได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่

การเตรียมดิน

          ขุดดินลึก  10-15  เซนติเมตร  พลิกดินตากแดด  และโรยปูนขาว  อัตรา  0-100  กรัม/ตร.ม.  ทิ้งไว้ประมาณ  7-10  วัน  ย่อยพรวนดินให้เป็นก้อนเล็กๆ  ขึ้นแปลงกว้าง  1-1.2  เมตร ความยาวตามพื้นที่ปลูก

การเตรียมกล้า

  • เพาะเมล็ดในกระบะที่มีส่วนผสมระหว่างทรายและขุยมะพร้าว  อัตราส่วน  2:1  เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ  5  วัน  จึงย้ายไปปลูกในถาดหลุม  ที่ใส่วัสดุเพาะ(Media)
  • หยอดเมล็ดลงในถาดหลุมเพาะกล้า  โดยตรงหลังจากต้นกล้า  บร็อคโคลี่มีอายุประมาณ  25  วัน  หรือมีใบจริง อย่างน้อย  2-3  ใบ จึงทำการย้ายปลูก (หากต้นกล้าเหลือง หรือก่อนย้ายปลูก  1  สัปดาห์  ควรพ่นปุ๋ยทางใบเสริม)

การปลูก

           ขุดดินตากแดด  อย่างน้อย  14  วัน  ขึ้นแปลงกว้าง  1-1.2  เมตร  สำหรับฤดูฝน  ให้แปลงสูงกว่าปกติ  30-50  ซม.  เพื่อการระบายน้ำ  รองพื้นด้วยปุ๋ยเคมี  12-24-12  อัตรา  30  กรัม/ตร.ซม. หรือ 50 กก./ไร่  ใส่ปุ๋ยหมัก  และปุ๋ยคอก  อัตรา  2-4  กิโลกรัม/ตรม.  เมื่ออายุได้  45  วัน

การให้น้ำ

          ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอโดยใช้สปริงเกอร์

การให้ปุ๋ย

          ประมาณ  5-7  วัน  ควรมีการปลูกซ่อมกล้าที่ตาย เมื่อย้ายปลูกได้  7-10  วัน  ใส่ปุ๋ย  15-15-15  และ  21-0-0  อย่างละ  20-25  กรัม/ตร.ม.  และใส่ปุ๋ยครั้่งที่  2  เมื่ออายุได้  25-30  วัน และใส่ปุ๋ยครั้งที่  3  เมื่อเริ่มเข้าหัว มีอายุ  45-50  วัน  พร้อมกำจัดวัชพืช แล้วพ่นสารเคมี ป้องกันศัตรูพืช  ถ้ามีพบการเข้าทำลายของศัตรูพืช

การเก็บเกี่ยว 

          อายุ  90-100  วัน  ตามฤดูกาลและสายพันธุ์

ประโยชน์ของบล็อคโคลี่

  1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณ เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวหนัง ช่วยชะลอผิวพรรณไม่ให้เหี่ยวย่น ทำให้ดูอ่อนเยาว์ตลอดเวลา (ซีลีเนียม)
  3. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก
  4. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน เรื่องจากบร็อคโคลี่เป็นผักที่มีแคลเซียมสูง
  5. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยสามารถ
  6. ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระที่จะเข้าไปทำลายเซลล์และทำลาย DNA ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
  7. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก
  8. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
  9. ผักในตระกูลกะหล่ำ มีความสัมพันธ์กับการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองได้ (Strokes)
  10. ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
  11. ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งแรงยิ่งขึ้น
  12. สารซัลโฟราเฟนสามารถช่วยป้องกันการทำลายของหลอดเลือดที่เกิดจากโรคเบาหวานได้มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  13. ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยคิง คอลเลจ ลอนดอน ระบุว่ามีเพียงผักผลไม้ 5 ชนิดเท่านั้นที่มีารประกอบที่ทำหน้าที่คล้ายยาที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งได้แก่ บร็อคโคลี่ ส้ม แอปเปิ้ล หัวไชเท้า และมันฝรั่ง โดยบร็อคโคลี่นั้นเป็นผักที่มีสารดังกล่าวมากที่สุด
  14. ช่วยป้องกันความผิดปกติของเด็กแรกเกิด
  15. ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันเนื่องจากบร็อคโคลี่มีวิตามินซีที่สูงมาก
  16. บร็อคโคลี่มีส่วนช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรนลง เนื่องจากเป็นผักที่มีแมกนีเซียมสูง
  17. สารซัลโฟราเฟนในบร็อคโคลี่ เป็นตัวช่วยทำให้ตับขับสารพิษในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบร็อคโคลี่ต้นอ่อนที่มีอายุเพียง 3 วัน
  18. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
  19. บร็อคโคลี่มีสารเคอร์เซทิน (Quercetin) ซึ่งเป็นตัวช่วยเพิ่มความอึด แรงดี ออกกำลังได้นานขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคหอบหืด ภูมิแพ้ มะเร็ง โรคหัวใจได้อีกด้วย
  20. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไขข้อ

 

 

 

 

แหล่งที่มา

ขอขอบคุณ : เดลินิวส์ / topicza