รู้หรือไม่หญ้าแฝกเป็นกำแพงดินธรรมชาติที่มหัสจรรย์มาก    

      ถึงแม้ หญ้าแฝกจะเคยถูกมองว่าเป็นวัชพืชที่ไร้ค่า แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงนำมาศึกษาจนค้นพบว่า หญ้าแฝกเป็นต้นหญ้าที่สามารถช่วยแก้ปัญหาในเรื่องดิน และถือว่าเป็นกำแพงธรรมชาติอีกทั้งมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ กล่าวถึงความหมายการเป็นกำแพงดินธรรมชาติของหญ้าแฝก คือช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ผืนดิน หมายถึงการปลูกหญ้าแฝก เพื่อใช้รากอันเหนียว แน่น ป้องกันการพังทลายของดิน ป้องกันดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน รักษาความชุ่มชื้นในดิน มีผลช่วยในด้านการทำเกษตรกรรม  นอกจากนี้ยังสามารถปลูกเป็นแนวป้องกันตะกอนดิน และกรองของเสียต่างๆ ที่ไหลลงในน้ำ รากของหญ้าแฝกมีความแข็งแรง สามารถหยั่งรากลงไปในเนื้อดินดาน ซึ่งเป็นดินที่มีความแข็งคล้ายหิน ทำให้ดินแตกร่วนซุย เป็นการเพิ่มความชื้นในดินได้อีกทางหนึ่ง

       หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่อยู่ในตระกูล หญ้าเช่นเดียวกับ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย และตะไคร้ โดยลักษณะ สําคัญของหญ้าแฝก คือ จะขึ้นเป็นกอหนาแน่น มีระบบรากหยั่งลึกและแผ่กระจายลงไปในดินตรงๆ ขนาดกอค่อนข้าง ใหญ่ประมาณ 5-20 เซนติเมตร ต่างจากหญ้าอื่นๆ อย่างชัดเจนหญ้าแฝกเป็นพืชที่ ทนแล้งสามารถปลูกได้แทบทุกภูมิภาคของประเทศไทย ชาวบ้านรู้จักหญ้าแฝกกันในชื่อ แฝกลุ่ม ขนาก และแฝกทองขาว หญ้าแฝกสามารถจําแนก ได้ 2 ชนิดด้วยกัน คือ หญ้าแฝกลุ่ม และหญ้าแฝกดอน

         หญ้าแฝกลุ่ม ลักษณะสําคัญ คือ กอเป็นพุ่ม ขนาดใหญ่ ใบยาวประมาณ 45-100 เซนติเมตร ตั้งตรงสูง สีของใบ ออกสีเขียวเข้ม เนื้อใบมีไขเคลือบมาก จึงค่อนข้างเนียนนุ่ม  ส่วนรากหยั่งลึกได้มากกว่า 1 เมตร ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน นอกจากนี้รากก็ยังมีกลิ่นหอม เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหย จึงทำให้หญ้าแฝกลุ่ม มีอีกชื่อหนึ่งว่าหญ้าแฝกหอม

         หญ้าแฝกดอน ลักษณะสำคัญ คือ กอ มีลักษณะเป็นพุ่ม รูปร่างใบยาว สอบปลายแหลม แต่ปลายใบจะโค้งลง เหมือนกอของต้นตะไคร้ และเนื้อใบจะมีไขเคลือบน้อย ทําให้ค่อนข้างสาก  ส่วนของรากนั้นค่อนข้างสั้นประมาณ 80-100 เซนติเมตร และไม่มีกลิ่น หอมส่วนใหญ่มักพบในพื้นที่ที่ค่อนข้างแห้งแล้ง

        อย่างที่กล่าว หญ้าแฝกมีระบบรากที่มีขนาดใหญ่และมีความพิเศษต่างจากรากของหญ้าทั่วไป จึงถูกนำมาใช้ ในการป้องกันหน้าดินได้อย่างดี คือ ระบบรากของหญ้าทั่วไป เป็นลักษณะระบบรากฝอย แตกออกจากส่วนลําต้นใต้ดินกระจายออกแผ่กว้างเพื่อยึดพื้นดินตามแนวนอน ส่วนระบบรากในที่เจริญในแนวดิ่งนั้นไม่ลึกมาก  ในขณะที่ระบบรากหญ้าแฝก เป็นระบบรากฝอย มี 2 ขนาด คือ เส้นโตและเส้นเล็กฝอย โดยเส้นโตจะเหนียวและแข็งเจาะลงไปในดินได้ลึก เส้นขนาดเล็ก จะแตกแขนงออกมาจากเส้นใหญ่สานกัน คล้ายร่างแหช่วยยึดเกาะดินได้มั่นคง  การปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน จะต้อง ปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวเดี่ยวตามแนวระดับขวางความลาดชัน ของพื้นท ี่เป็นช่วงๆ แถวของหญ้าแฝกจะต้องปลูกถี่ สําหรับ กล้ารากเปลือยโดยต้องปลูกระยะห่างกัน 5 เซนติเมตร

นอกจากนี้เรายังสามารถปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดิน ด้วยการปลูกเป็นแถว ระหว่างพืชหรือไม้ผล โดยปลูกหญ้าแฝกทุกแถวพืช หรือเว้น 1-2 แถว แล้วจึงปลูกหญ้าแฝก 1 แถว แต่ถ้าปลูกเพื่อปรับปรุงพื้นที่เสื่อมโทรม อาจต้องอาศัยการปลูกเต็มทั้งพื้นที่

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง