เมื่อก่อนชะอม อาจจะไม่ใช่ผักที่ได้รับความนิยม จึงมักจะเห็นปลูกไว้ตามรั้วบ้านไว้เก็บกิน แต่สมัยนี้ชะอม กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความต้องการของตลาดค่อนข้างสูง เพราะผู้คนมีความนิยมนำมารับประทานและประกอบอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะเมนู ไข่เจียวชะอมที่ทานคู่กับ้นำพริกกะปิ เข้ากันดีมากๆ

จึงทำให้ชะอมเป็นพืชที่มีราคาค่อนข้างสูง และเกษตรกรก็เริ่มหันมาปลูกชะอมแบบจริงจัง วันนี้เราจึงได้นำเคล็ดลับในการปลูกชะอมแบบมืออาชีพมาฝากกันค่ะ หากใครที่กำลังเริ่มต้นปลูกชะอม หรือเริ่มทำสวนชะอมก็ศึกษาดูได้ จะทำให้ต้นชะอมแตกยอดดก เก็บแทบไม่ทันกันเลย

เคล็ดลับในการปลูกชะอมให้ดก

1. ให้เลือกช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม สำหรับชะอมคือ ช่วงปลายเดือนเมษายน ที่จะเริ่มเข้าฤดูฝน

2. เมื่อพร้อมที่จะปลูกแล้ว ให้เตรียมหลุมปลูกให้มีขนาด ลึก 1 ฟุต กว้าง 1 ฟุต แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หลุมที่ขุดควรเว้นระยะห่างของแต่ละหลุด 2 เมตร

3. จากนั้นก็ทยอยนำต้นกล้าชะอมลงปลูกในหลุม แล้วกลบดินที่ขุดจากหลุมลงไปได้เลย

4. หาวัสดุมาคลุมโคนต้นไว้ เช่น ฟางข้าว เศษหญ้า แกลบหยาบ เพื่อเป็นการรักษาความชื้นหน้าดินไว้ให้กับต้นกล้า

5. แล้วก็ทำการให้น้ำให้ปุ๋ยตามปกติ เมื่อครบ 3 เดือน ต้นชะอมจะสูงได้ประมาณ 2 เมตร ช่วงนี้ห้ามเด็ดยอดชะอมเด็ดขาด เพราะหากเด็ดตอนนี้จะทำให้ชะอมแตกยอดสูง และจะทำให้เก็บผลผลิตได้ยากขึ้น

6. รอให้ยอดแขนงเจริญเติบโตเท่ากับต้นแม่ แล้วค่อยทำการโน้มกิ่งแขนงและกิ่งแม่จากอีกต้นไปยังต้นที่อยู่ใกล้เคียงกัน จากนั้นให้ใช้ตอกมันกิ่งให้ติดกันไว้

7. ต่อไปจะเป็นการ “ทำ ส า ว” ให้ต้นชะอม โดยการใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ให้เริ่มจากนำปุ๋ยสูตรนี้ไปแช่ในน้ำระดับเข้มข้น จนปุ๋ยไม่สามารถละลายได้อีกแล้ว แล้วค่อยกรองเอาแต่น้ำปุ๋ยเข้มข้นพ่นทางใบเพื่อให้ใบร่วง (ให้พ่นช่วงเย็น) แล้ววันรุ่งขึ้นต้นชะอมจะมีสีดำ แล้ววันที่ 3 ใบจะร่วงจนหมดต้นเหลือแต่กิ่ง

8. แล้วทิ้งชะอมไว้อีก 1 วัน จากนั้นค่อยพ่นด้วยน้ำเปล่า เพื่อเป็นการชะล้าง ส า ร เ ค มี ออกให้หมด ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการเปิดตายอด และช่วยให้ชะอมออกยอกใหม่ และดกกว่าเดิม

การขยายพันธุ์ชะอม มีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้

1. การตอนและปักชำ

การปักชำกิ่งหรือการตอน เป็นวิธีที่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเกษตรกรส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกใช้วิธีนี้ เพราะมีความสะดวกและรวดเร็วกว่าวิธีอื่น

วิธีการปักชำ

– ให้เลือกกิ่งพันธุ์ชะอม โดยให้เลือกกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ตัดกิ่งพันธุ์ให้มีความยาว 1 คืบ และควรมีตากิ่ง 3-4 ตา

– จากนั้นก็นำไปปักชำลงในถุงดำที่มีดินปลูกผสมไว้เรียบร้อย (ดินปลูกที่ผสม ขี้เถ้า แกลบ และปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 3: 3: 1 ) หรือจะใช้วิธีปักชำในแปลงเลยก็ได้

– แล้วให้รดน้ำให้ชุ่ม รดน้ำวันเว้นวัน ใช้เวลา 50-60 วัน ชะอมจะเริ่มแตกยอด แสดงว่าพร้อมที่จะนำลงปลูกได้แล้ว

ข้อดี : สำหรับการขยายพันธุ์โดยการปักชำ จะมีข้อดีคือ มีต้นทุนที่ต่ำ และใช้เวลาไม่นานก็สามารถลงเพาะปลูกได้ และยังเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วอีกด้วย

ข้อเสีย : การขยายพันธุ์โดยการปักชำ จะทำให้มีรากฝอยเยอะ และส่งผลให้ต้นชะอมไม่แข็งแรง ยึดดินไว้ใม่แน่น ต้นอาจจะล้มได้ง่าย ไม่ทนทานเหมือนกับการปลูกด้วยเมล็ด

2. การใช้เมล็ด

ข้อดี : การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด จะทำให้มีรากที่ยึดเกาะพื้นดินได้ดีกว่าแบบปักชำ และไม่ทำให้ต้นไม่โค่นง่ายเวาที่มีลมพัดแรงๆ และการมีรากแก้วที่ลึกก็จะสามารถหาอาหารและน้ำได้ดีกว่า ช่วยให้เร่งยอดออกผลได้ดี ไม่ขาดช่วง

ข้อเสีย : การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด จะมีข้อเสียตรงที่เวลา เพราะจะใช้เวลานานหลายปีในการเพาะปลูก มีทรงพุ่มที่ใหญ่ มีดอกและยังติดฝักอีกด้วย

ใครที่กำลังปลูกชะอมอยู่ ก็ลองนำเคล็ดลับนี้ไปปรับใช้กับสวนของตัวเองได้เลย รับรองว่าได้ผลผลิตดีแน่นอน

ขอบคุณที่มา : ความรู้เกษตร