สถานการณ์การปลูกทุเรียนในประเทศไทยมีการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียน เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากช่วง 4-5 ที่ผ่านมาราคาทุเรียน มังคุด มะม่วงน้ำดอกไม้ในต่างประเทศยังคงมีความต้องการอยู่มาก ยิ่งโดยเฉพาะตลาดจีน และเวียดนาม ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรมีอัตราการลดลงของราคา โดยเฉพาะยางพารา ที่ส่งผลต่อเกษตรกรผู้ปลูกเป็นอย่างมาก จึงทำให้เกษตรกรทั้งที่ได้รับผลกระทบ และเกษตรกรผู้เริ่มต้น หันมาปลูกทุเรียนแทน

ในบรรดาทุเรียนที่เกษตรกรเลือกหันมาปลูกนั้น ส่วนหนึ่งยังคงเป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง แต่ทั้งนี้ความต้องการของตลาดทุเรียนนั้นมีการนิยมทุเรียนสายพันธุ์ของมาเลเซีย ที่ถือว่าสุดยอดทุเรียนของมาเลเซีย ณ ขณะนี้คือ “มูซานคิง” หรือ“เหมา ซาน หว่าง” ที่ซึ่งกำลังนิยมของชาวที่อาศัยปลายแหลมมาลายู ไม่ว่าจะเป็นภาคใต้ตอนล่างของไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ รวมถึงบรูไนฯ และที่สำคัญตอนนี้ฮือฮามากในตลาดจีน ทำให้ราคาพุ่งขึ้น

    มูซานคิง หรือคุนยิต เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งทุเรียนมาเลเซีย” เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่มีรสชาติอร่อย ชาวจีนนิยมบริโภค

    โดยลักษณะเด่นของทุเรียนพันธุ์มูซานคิง คือ ม่ีขนาดผลไม่ใหญ่มาก น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.5-2.5 กิโลกรัม เปลือกมีสีน้ำตาลเทา รอบๆขั้วผลมีวงสีน้ำตาล หนามไม่แหลมคมมาก เนื้อมีสีเหลืองเข้ม เหนียว ละเอียดรสชาติหวานมัน มีกลิ่นเฉพาะ เมล็ดเล็กลีบ เมื่อสุกแก่เต็มที่จนเลยวันแล้ว รสชาติยังอร่อย เนื้อคงรูป และไม่ขม แต่มีข้อเสียคือ ผลบริเวณก้นแตกง่าย อาจจะเป็นปัญหาในการขายผลสด แต่ในอนาคต การขายทุเรียนบ้านเราอาจจะเปลี่ยนไป แทนที่จะขายทุเรียนทั้งผล ก็เปลี่ยนมาเป็นแกะเนื้อขายกันเกือบหมด สะดวกทั้งคนทานและไม่ต้องขนขยะเข้าเมืองหรือขนขยะส่งออกด้วย

     ทุเรียน “มูซานคิง”จัดว่าเป็นทุเรียนที่มีราคาสูงที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง และได้รับการตอบรับดีจากผู้บริโภคชาวจีนอย่างล้นหลาม ด้วยรสชาติหวาน มัน มีเมล็ดลีบ มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท ในประเทศจีน ราคาจำหน่ายในประเทศมาเลเซีย ราว 100-120 ริงกิต หรือ 800-900 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนราคาจำหน่ายในประเทศไทย 550-850 บาท แต่หารับประทานได้ยาก เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มักจองล่วงหน้าถึงหน้าสวน

ถือว่าในการปลูกทุเรียนสายพันธุ์ “มูซานคิง” ไม่ผิดหวังแน่นอน ปลูกก่อนได้เปรียบเนื่องด้วยยังคงมีความต้องการในตลาดอยู่มาก โดยเฉพาะมาเลเซีย แต่ผลผลิตจากมาเลเซียมีน้อยมาก ตรงนี้ถือเป็นโอกาสอันดีของเกษ“มูซานคิง”ตรกรไทย ที่จะหันมาปลูกทุเรียนพันธุ์นี้เพราะ ไม่เพียงแต่ประเทศจีน เวียดนามก็ต้องการสูงเช่นกัน แต่กระนั้น คอทุเรียนอีกจำนวนมากที่มีความต้องการซื้อก็มีมากไม่แพ้กันเช่นกัน

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง