ปัจจุบัน มีการหันมาให้ความสนใจและเลือกบริโภคอาหารประเภทสัตว์น้ำกันมากขึ้น ทำให้มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกันอย่างเพิ่มมากขึ้น และยิ่งมากขึ้นเมื่อมีความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ผู้เลี้ยงจึงต้องทำการเลี้ยงมีปริมาณที่เพียงพอตอบสนองต่อความต้องการขอผู้บริโภค จึงมีการพัฒนารูปแบบการเลี้ยง พัฒนาเทคนิควิธี ที่ให้ผลตอบแทนและคุ้มค่าต่อการลงทุน

     แต่ก็มักจะ ประสบกับปัญหา เรื่องของคุณภาพน้ำหากการจัดการไม่ดีพอ โดยเฉพาะเรื่องแอมโมเนีย ที่มักเกิดมาจากการให้อาหารในปริมาณที่มากเกินไป หรืออาจจะมาจากการขับถ่ายของตัวสัตว์น้ำไนโตรเจนมีบทบาทที่สำคัญต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่สำคัญในการสร้างเซลล์ โดยเฉพาะพวกโปรตีนในอาหารที่เราให้แก่สัตว์น้ำ ขณะเดียวกันไนโตรเจนในน้ำก็ยังสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารประกอบที่มีพิษต่อสัตว์น้ำได้ด้วย เช่น แอมโมเนีย และไนไตรท์และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการนำแนวคิดที่จะบำบัดไนโตรเจนมาปรับใช้ภายในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ  คือ Biofloc Technology เป็นวิธีที่ทำให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีความยั่งยืนมากขึ้น โดยได้นำสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ มาใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าอาหารในระหว่างการเพาะเลี้ยง

ที่มารูปภาพ :  สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง สงขลา

 

     Biofloc Technology คือ ใช้หลักการนำตะกอนจุลินทรีย์มาช่วยย่อยสลายของเสียในบ่อปลา (แอมโมเนีย) ใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำ เปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นของดีที่มีประโยชน์ต่อสัตว์น้ำ  ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำ ไม่ต้องมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ขอให้น้ำที่นำมาใส่ในระบบมีค่า PH เป็นกลาง 

     ตะกอนจุลินทรีย์ (Biofloc) คือ ตะกอนอินทรีย์แขวนลอยในมวลน้ำ ยึดเกาะเป็นกลุ่มโดยพวกสาหร่ายแพลงก์ตอนพืช  โปรโตซัว และแบคทีเรีย โดยกลุ่มแบคทีเรียจะเป็นพวกเฮทเทอโรโทรฟิค โดยขนาดของกลุ่มฟลอคอยู่ที่ 0.2-2.0 มิลลิเมตร

    ไบโอฟลอคสามารถเกิดได้เองตามธรรมชาติ แต่ถ้านํ้าไม่หมุนเวียนหรือเคลื่อนไหวฟลอคนั้นก็จะตกตะกอนสะสมที่พื้นก้นบ่อกลายเป็นของเสียเช่นเดิม  ไบโอฟลอคจะเกิดได้ดีเมื่อในแหล่งน้ำมีสัดส่วนระหว่างคาร์บอนกับไนโตรเจน (C:N ratio) ที่เหมาะสม โดย แหล่งที่มาของคาร์บอน ได้แก่ แป้ง (starch) น้ำตาล (sugar) เซลลูโลส (cellulose) และพวกกากใย (fiber)  และแหล่งที่มาของไนโตรเจน ได้แก่ กรดอะมิโน (amino acid) โปรตีน (protein) 

 

      กระบวนการทำงานของไบโอฟลอค                                                                                    เมื่อเติมสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตลงไปมันจะไปกระตุ้นให้ไบโอฟลอคดึงไนโตรเจน (แอมโมเนีย) มาใช้ในการสร้างเซลล์ใหม่มากขึ้นจำนวนจุลินทรีย์ก็จะเพิ่มมากขึ้น ปริมาณแอมโมเนียในนํ้าก็จะลดลง ซึ่งเนื้อเซลล์ใหม่ที่ว่านี้ก็คือสารพวกโปรตีน เมื่อสัตว์นํ้ากินจุลินทรีย์ที่รวมตัวเป็นฟลอคเข้าไปก็เท่ากับว่าสัตว์นํ้าได้กินอาหารที่มีโปรตีนนั่นเอง การใช้กลุ่มฟลอคในการกำจัดแอมโมเนียนี้จะเร็วกว่าการเกิดกระบวนการไนตริฟิคเคชั่น (กระบวนซึ่งมีความเป็นพิษสูงต่อสัตว์น้ำให้เป็นไนไตรท์ และไนเตรท) ทำให้นํ้าที่ใช้เลี้ยงสัตว์นํ้ามีคุณภาพดี การเปลี่ยนถ่ายนํ้าน้อยลงและส่งผลให้สัตว์มีสุขภาพดีตามไปด้วย

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง