การทำเกษตรอินทรีย์ คือระบบการเกษตรที่เน้นความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นกระบวนการปฏิบัติไปในเรื่องการปรับปรุงดิน หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ และไม่ใช้ พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน เกษตรอินทรีย์จึงช่วยเกษตรกรลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี โดยในขณะเดียวกันก็นำธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิตและการพัฒนาการด้านการต้านทานโรค

      จากแนวโน้มการเติบโต ของตลาดสินค้าอินทรีย์มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คำว่า อินทรีย์ หรือ ออร์แกนิก (Organic) ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดกันอย่างแพร่หลาย ดังนั้นการสร้างความมั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์อินทรีย์ให้กับผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องที่ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เริ่มหันมาให้ความสนใจกันมากขึ้น
ตรามาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริโภคทั่วไปพอจะมั่นใจได้ในความเป็นอินทรีย์ที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่จะซื้อ หรือซื้อไปแล้ว สำหรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อินทรีย์ Organic Thailand สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ – มกอช. (National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards – ACFS) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ เครื่องหมายรับรองปัจจัยการผลิต แผล่งการผลิต หรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ โดยได้รับการับรองจาก กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมปศุสัตว์ และกรมประมง

    หลักการการทำเกษตรอินทรีย์ ให้สามารถได้เครื่องหมายรับรอง

  1. เกษตรกรต้องไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ หรือพ่อแม่พันธุ์พืชที่ทำการตัดแต่งพันธุกรรม
  2. อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ หรือปุ๋ย ต้องเป็นอาหารที่ได้มาจากธรรมชาติ หรือมีการผลิตขึ้นเองภายในฟาร์ม เช่น ปุ๋ยพืชสด        3. ใช้นกและแมลงในการกำจัดศัตรูพืช ให้เป็นห่วงโซ่อาหาร                                                                                            4.ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ และจุลินทรีย์ ในการปรับปรุงดิน                                                                                          5. เกษตรกรต้องสร้างสิ่งกีดขวาง เพื่อป้องกันสารเคมีจากแปลงข้างเคียงที่จะเข้ามาสู่ฟาร์มเรา โดยการ ทำคันดินกั้นระหว่างแลง การขุดคูน้ำ และการปลูกพืชเป็นแนวป้องกัน หรือการปลูกพืชเป็นแนว
  6. เกษตรกรต้องไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดในทุกขั้นตอนการผลิต คือ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะ
  7. ในการเปลี่ยนจากเกษตรธรรมดา มาเป็นเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรต้องมีการเว้นช่วงเวลาที่เรียกว่า ช่วงเวลาปรับเปลี่ยน ซึ่งระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนจะมีระยะเวลาที่แตกต่างกันตามชนิดพืช และชนิดของสัตว์


     เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ แล้วเกษตรกรจึงจะสามารถยื่นขอ มาตรฐานหรือ เครื่องหมายรับรองในการทำเกษตรอินทรีย์ได้ 

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง