ในการทำเกษตร สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้พืชผักเจริญเติบโตงอกงามได้ ก็ต้องใช้การบำรุงจากปุ๋ย แต่การใช้ปุ๋ย เ ค มี ไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อผู้บริโภค สำหรับเกษตรกรก็ยังไม้รับเช่นกัน ดังนั้นวันนี้เราจะมาบอกวิธีทำปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ ที่สามารถทำเองได้ง่ายๆ จากวัถุดิบที่หาได้ทั่วไป และยังมีความปลอดภัยมากกว่าอีกด้วย

ประโยชน์ของการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

1. เป็นปุ๋ยหมักสูตรเทียบเคียงปุ๋ย เ ค มี จึงมีคุณสมบัติที่ดีต่อพืชไม่ต่างกัน

2. ทำให้เกษตรกรสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อปุ๋ย เ ค มี ที่มีราคาสูง

3. สามารถจัดหาวัตถุดิบได้เองในท้องถิ่น ซึ่งมีราคาถูกกว่าปุ๋ย เ ค มี

4. เป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรเอง

สูตรที่ 1 ปุ๋ยหมักสูตร 46-0-0(โบโบชิ)

ส่วนผสมที่ใช้

1. ขี้ค้างคาว 6 กิโลกรัม

2. น้ำหมักชีวภาพ พด.2 หรือ EM

3. ก า ก น้ำตาล

4. มูลไก่ 1 กระสอบ

5. แกลบดิบ 1 กระสอบ

6. รำ 1 กระสอบ

ขั้นตอนในการทำ

1. ก่อนอื่นให้นำส่วนผสมที่เตรียมไว้ดังนี้ แกลบดิบ มูลไก่ ขี้ค้างคาว และรำข้าว มาผสมให้เข้ากัน จากนั้นก็เกลี่ยให้เป็นกองแนวราบ

2. ต่อมาให้นำน้ำหมักชีวภาพ พด.2 หรือ EM ที่เตรียมไว้ มาเทราดลงบนกองส่วนผสมที่ผสมเมื่อกี้ และเท ก า ก น้ำตาลรดลงบนกองด้วย โดยให้ผสมกันจนได้ความชื้นที่ 60%

3. เมื่อผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันตามสูตรแล้ว ให้ตักปุ๋ยบรรจุใส่กระสอบฟางไว้ ไม่ต้องเต็มมาก ให้เหลือพื้นที่ไว้สำหรับมัดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปหมักไว้ในที่ร่ม

4. ต้องทำการกลับกระสอบทุกวัน โดยให้กลับกระสอบไปมาวันละ 1 ครั้งจนครบ 7 วัน

5. เมื่อครบวันที่ 7 ให้วางกระสอบในแนวตั้ง แล้วทำการเปิดปากกระสอบเพื่อระบายความร้อน ตั้งทิ้งไว้อีก 1 คืน เพียงเท่านี้ก็จะได้ปุ๋ยหมักโบโบชิ นำไปใช้ได้แล้ว

สูตรที่ 2 ปุ๋ยหมักสูตร 16-16-16

ส่วนผสมที่ใช้

1. แกลบดิบ 1 ส่วน

2. แกลบดำ 1 ส่วน

3. ดินดี 1 ส่วน

4. พืชตระกูลถั่ว 1 ส่วน

5. รำอ่อน 1 ส่วน

6. มูล สั ต ว์ 1 ส่วน

ขั้นตอนในการทำ

1. ให้นำส่วนผสมที่เตรียมไว้ทั้งหมดมาผสมกัน โดยนำมาคลุกให้เข้ากัน (ยกเว้นรำอ่อนให้ใส่หลังสุด)

2. แล้วก็ผสมน้ำหมักชีวภาพ นำ ก า ก น้ำตาล 2 ช้อนแกงลงผสมกับน้ำหมัก 2-8 ช้อน แล้วเติมน้ำ 20 ลิตรคนให้เข้ากันนำใส่บัวรดน้ำ (หรือใครจะใช้เป็นน้ำซาวข้าวแทน ก า ก น้ำตาลมาผสมก็ได้)

3. เกลี่ยกองส่วนผสมที่ผสมไว้ออกเป็นวงกลม จากนั้นก็รดน้ำหมักลงบนกองปุ๋ยที่ผสมไว้ โดยให้ความชื้นประมาณ 60% คลุกเคล้าให้เข้ากันดี

4. หมักทิ้งไว้ 7 วัน โดยพลิกกระสอบปุ๋ยทุกวัน เพื่อเป็นการระบายความร้อน

ขอบคุณข้อมูล : ครูชาตรี ต่วนศรีแก้ว