ในประเทศอินเดีย นั้นเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีจำนวนประชากรที่มาก และมีความต้องการด้านอาหารสูงมาก แม้ว่าจะมีความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรได้เอง แต่ผลผลิตที่ได้ไม่ค่อยมีคุณภาพเท่าที่ควร ดังนั้นการคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรจึงมีความจำเป็น

ประเทศอินเดียได้นำเทคโนโลยี E-nose หรือ จมูกอิเลคทรอนิกส์ มาใช้ในการเกษตร โดยเฉพาะการใช้วัดคุณภาพของกลิ่นหอมของข้าว และพวกธัญพืช ที่รัฐบาลได้รับซื้อไปจากเกษตรกร

เนื่องจากความสามารถในการบ่งชนิดของกลิ่นในมนุษย์นั้นไม่คงที่และมีข้อจำกัด จากปัจจัยกระตุ้นภายนอก ทั้งความอ่อนล้าอารมณ์ สภาพอากาศหรืออุณหภูมิขึ้น เซนเชอร์อัจฉริยะอาศัยหลักการเดียวกับการรับรู้กลิ่นของมนุษย์ เรียกว่า “จมูกอิเล็ก–ทรอนิกส์ (Electronic Nose)” หรือ “ระบบตรวจวัดกลิ่นด้วยอาร์เรย์เซนเซอร์” จะช่วยลดข้อจำกัดของจำแนกกลิ่นของผู้เชี่ยวชาญที่อาศัยประสาทสัมผัส โดยใช้การส่งสัญญาณที่แตกต่างกันเพื่อใช้จดจำและจำแนกสารเคมีต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง โดยกลิ่นเป็นสารเคมีระเหย ซึ่งมนุษย์และสัตว์จะมีตัวตรวจจับสารเคมีของกลิ่น ที่ส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อประมวลว่าเป็นสัญญาณของกลิ่นใด

     โดยการใช้เทคโนโลยี E-nose นี้ของการทำเกษตรในประเทศอินเดีย จะเป็นตัวช่วยให้รัฐบาลควบคุมคุณภาพของกลิ่นหอมของข้าวได้ และเพื่อใช้ยืนยันกลิ่นหอมของข้าวแต่ละสายพันธุ์

      ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรของอินเดียอธิบายว่า สายพันธุ์ข้าวที่ต่างกัน ก็จะให้กลิ่นหอมที่แตกต่างกัน เช่น ข้าวพันธุ์ Kalo Nunia มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ในขณะที่ข้าวพันธุ์ Gobindobhog มีกลิ่นหอมมากกว่าสิ่งที่ชาวอินเดียต้องการจริงๆ ก็คือ กลิ่นหอมของข้าวที่สม่ำเสมอ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนา

     จมูกอิเล็กทรอนิกส์เป็นระบบที่เกิดขึ้นโดยเลียนแบบจมูกของมนุษย์ ที่มีความซับซ้อน ในการจำแนก และจัดระดับความแรงของกลิ่นได้ มีส่วนประกอบเซ็นเซอร์จำนวนมาก ตัวอย่างเช่น เซ็นเซอร์เคมีไฟฟ้า หรือเซ็นเซอร์ทางแสง ซึ่งเซ็นเซอร์แต่ละตัวจะมีความจำเพาะในการวัดที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีการคำนวนข้อมูลทางสถิติที่เหมาะสมเพื่อเป็นฐานข้อมูลให้เกิดการจดจำกลิ่น และระดับความแรงของกลิ่น ปัจจุบันจมูกอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตทางการค้า ใช้เทคนิคก๊าซเซ็นเซอร์เนื่องจากเป็นเซ็นเซอร์ที่มีความคงตัว แ ละความทนทานสูง

     เห็นเช่นนี้แล้ว เกษตรกรไทยพึงตระหนักและควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลผลิตกันให้มากๆ เพราะสินค้าที่มีคุณภาพที่ดีย่อมเป็นใบเบิกทางไปสู่การตลาดระดับโลกได้ และนั่นก็หมายความว่าเราจะก้าวผ่านคำว่าเกษตรยากจนได้

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง