ปัญหาหนึ่งของการปลูกมะ นาว นั่นคือพบความผิดปกติที่ใบมะ นาว มีรอยสีขาวๆ คดเคี้ยวไปมา ทำให้มะ นาวได้ผลผลิตน้อยลง รอยสีขาวๆ คดเคี้ยวบนใบมะ นาวนั้นเกิดจากหนอนชอนใบ ซึ่งมักพบการระบาดรุนแรงในช่วงที่มะ นาวผลิใบอ่อน ระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนกันยายนของทุกปี หรืออยู่ในช่วงฤดูฝน แต่พอย่างเข้าฤดูหนาว การระบาดจะลดความรุนแรงลงการเข้าทำลายใบมะนาวของหนอนชอนใบนี้ นอกจากทำให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของใบมะนาวลดลงแล้ว ยังเปิดทางให้โรคแคงเกอร์เข้าร่วมทำลายได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

มารู้จักหนอนชอนใบกันสักนิด

– หนอนชอนใบ (Leaf miner, Leafy worm) เป็นผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยเมื่อสยายปีกออก วัดความกว้างได้ 6-8 มิลลิเมตร ลำตัวสีหม่น ปีกสีขาวนวลมันวาว ปลายปีกมีจุดดำหลายจุด และมีแถบสีน้ำตาลเข้ม

– เพศเมียวางไข่ไว้ที่ใต้ใบมะ นาวที่ผลิออกมาใหม่ คราวละ 1 ฟอง รูปร่างกลม สีเหลืองใส ขนาดเล็กมาก ตัวอ่อนฟักออกจากไข่ภายใน 3 วัน แล้วเจาะชอน คดเคี้ยวเข้าในเนื้อใบ เพื่อดูดกินน้ำเลี้ยง และจะดำรงเป็นตัวหนอนอยู่ได้ 7-10 วัน จากนั้นจึงเข้าดักแด้ และกลายเป็นตัวเต็มวัยคือผีเสื้อกลางคืน วนเวียนเป็นวัฏจักร

วิธีป้องกันกำจัด

1. กรณีปลูกไม่มาก เป็นมะ นาวข้างบ้าน มีคำแนะนำ ดังนี้

– ให้แช่ยาเส้น หรือยาฉุนครึ่งถุง ปัจจุบันราคาถุงละ 20 บาท มีจำหน่ายตามร้านขายของชำทั่วไป ในน้ำสะอาด 1 ลิตร อย่างน้อยเป็นเวลา 3 ชั่วโมง หากแช่ค้างคืนได้จะยิ่งดี

– ได้เวลาตามกำหนดใช้มือบีบคั้นให้ได้น้ำสีชา กรองด้วยผ้าขาวบาง เอาเส้นยาออก ใส่น้ำลงในอุปกรณ์ฉีดพ่นขนาดเล็ก หรือฟ็อกกี้ ก็ใช้ได้

– เติมเหล้าขาว หรือ เหล้าโรง 2 ช้อนโต๊ะ และเสริมด้วยน้ำสบู่เจือจางเล็กน้อย เขย่าให้เข้ากัน แล้วฉีดพ่นที่ใบอ่อนผลิออกมาตั้งแต่วันแรก อย่าให้พลาด และพ่นต่อให้ทั่วทรงพุ่ม ผสมครั้งเดียวใช้ให้หมด

– สารผสมสูตรนี้ฉีดพ่นมะ นาวที่ปลูกในกระถาง หรือปลูกในวงบ่อซีเมนต์ได้ 5-7 ต้น ฉีด 3 ครั้ง ทุกๆ วัน จนใบอ่อนมีอายุครบ 9-12 วัน จึงจะปลอดภัยจากหนอนชอนใบ.

2. กรณีที่ปลูกมะ นาวเป็นสวนขนาดใหญ่หรือเชิงการค้า ให้ใช้ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ อัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 1 ปี๊บ ผสมให้เข้ากันดีก่อนฉีดพ่น และให้ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน และควรทิ้งระยะไว้ 1 สัปดาห์ ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต
นอกจากการแก้ปัญหาด้วยการกำจัดหนอนชอนใบแล้ว ควรเสริมการบำรุงต้นมะนาวให้แข็งแรงสมบูรณ์ ด้วยการใส่ปุ๋ยในทุกระยะ ดังนี้

– บำรุงต้น ใส่ปุ๋ยสูตร 25-9-9 หรือสูตร 16-16-16 ร่วมกับ 15-0-0+26CaO อัตรา 1 กก./ต้น และฉีดพ่นด้วยปุ๋ยเกล็ดสูตร 25-5-5 สลับกับ 19-19-19 อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

– สะสมอาหาร สร้างตาดอก ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 อัตรา 1 กก./ต้น และฉีดพ่นด้วยปุ๋ยเกล็ดสูตร 0-52-34 หรือ 8-26-26 อัตรา 50-100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

– บำรุงผล ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 หรือ 17-17-17 อัตรา 1 กก./ต้น และฉีดพ่นด้วยปุ๋ยเกล็ดสูตร 25-5-5 หรือ 19-19-19 อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

– ปรับปรุงคุณภาพ ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 14-14-23 อัตรา 1 กก./ต้น และฉีดพ่นด้วยปุ๋ยเกล็ดสูตร 14-14-21 หรือ 7-17-37 อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

ขอบคุณที่มา เพจ ปุ๋ยไข่มุก เกษตรพันล้าน