การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) คือ การจัดการ เลือกสรรวิธีเพื่อวางแผนควบคุม ป้องกัน กำจัดสัตว์พาหะและแมลงแบบบูรณาการ โดยผสมผสานเทคนิคการจัดการหลายวิธีเข้าด้วยกันขึ้นกับความเข้าใจของเกษตรกร โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อทางเศรษฐกิจจะดำเนินการควบคุมศัตรูพืชเมื่อพิจารณาว่าคุ้มกับผลตอบแทน เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและหลีกเลี่ยงการต้านทานสารเคมีของศัตรูพืช  และ เพื่อสุขอนามัยและความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภค

 

หลักการของการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน

1. ปลูกพืชให้แข็งแรง เริ่มต้นจากการเลือกใช้พันธุ์ที่มีคุณสมบัติต้านทานโรคและแมลง  มีการจัดการการใช้ปุ๋ย การใช้น้ำ และการจัดการดินแก่พืชอย่างเหมาะสม พืชที่แข็งแรงนั้นจะสามารถต้านทานต่อโรคและลดความเสียหายจากการทำลายได้

2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ คือการรักษาศัตรูธรรมชาติได้แก่ตัวห้ำ ตัวเบียน ที่เราเรียกว่าศัตรูธรรมชาติ เป็นผู้
คุ้มครองผลผลิตที่ดีมากกว่าหากแปลงเพาะปลูกไม่มีศัตรูธรรมชาติ ทั้งนี้ต้องเข้าใจบทบาทและอนุรักษ์สิ่งที่มีประโยชน์

การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี เป็นการใช้ประโยชน์จากศัตรูธรรมชาติของศัตรูพืชซึ่งประกอบด้วย ตัวห้ำหรือแมลงห้ำ ตัวเบียนหรือแมลงเบียน  เชื้อโรคของศัตรูพืช และชีวินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ ไปทำการควบคุมศัตรูพืช ซึ่งจะทำลายศัตรูเหล่านี้ให้มีปริมาณลดลงและลดความเสียหายของศัตรูพืช

  • การใช้ตัวห้ำหรือแมลงห้ำ สัตว์หรือแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งที่กินสัตว์หรือแมลงอื่น ตัวอย่างของตัวห้ำ นก กบ คางคก กิ้งก่า งู แมงมุม โดยแมลงตัวห้ำต่าง ๆ ที่มีทั้งชนิดและปริมาณมากกว่า สัตว์ตัวห้ำอื่น ๆ เช่น แมลงปอ ด้วงเต่าลายหยัก ด้วงเต่าสีส้ม ด้วงดิน แมลงช้างปีกใส มวนพิฆาต มวนเพชฌฆาต ตั๊กแตนตำข้าว เป็นต้น
  • การใช้ตัวเบียนหรือแมลงเบียน สััตว์หรือแมลงขนาดเล็กดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการเกาะกินอยู่บนหรือแมลงอาศัย ตัวเบียนจะสามารถเข้าท าลายและเจริญเติบโตได้ในทุกระยะของสัตว์หรือแมลงอาศัย คือ ทั้งไข่ตัวอ่อนหรือ หนอน ดักแด้และตัวเต็มวัย ตัวเบียน 1 ตัว ต้องการสัตว์หรือแมลงอาศัยเพียงตัวเดียวในการเจริญเติบโตจนครบวงจรชีวิตของมัน
  • การใช้เชื้อโรค จุลินทรีย์ที่มีชีวิตอยู่และเจริญเติบโตบนสัตว์หรือแมลงอาศัย ทำให้สัตว์หรือ แมลงอาศัยนั้นเป็นโรคและตายในที่สุด จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไส้เดือนฝอย และโปรโตซัว ในธรรมชาติศัตรูพืช (แมลงศัตรูพืช สัตว์ ศัตรูพืช โรคพืช และวัชพืช) จะถูก จุลินทรีย์ต่าง ๆ ทำลายอยู่เสมอ จุลินทรีย์จึงเป็นศัตรูธรรมชาติที่สำคัญในการควบคุมประชากรของศัตรูพืชให้อยู่ในระดับต่ำ
  • การใช้สารธรรมชาติจากพืชควบคุมศัตรูพืช  ในประเทศไทยมีพืชสมุนไพรหลายชนิด ที่มีคุณสมบัติในการควบคุมแมลงศัตรูพืชในรูปของการนำมาบดหรือตำแล้วนำไปฉีดพ่นแมลง เช่น สะเดา ข่า ขมิ้นชัน โล่ติ้น สาบเสือ ตะไคร้  ลำโพง หนอนตายหยาก หางไหล สามารถใช้เป็นสารไล่ สารยับยั้งการกินอาหาร และยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลงได้

     วิิธีการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ

  1. เก็บรักษาต้นพืชที่เป็นแหล่งอาหารอาศัยของศัตรูธรรมชาติเป็นจุด ๆ (ต้นพืชเหล่านี้เป็น วัชพืชที่ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ) ต้นพืชเหล่านี้จะมีเกสรดอกไม้และน้ำหวานสำหรับเป็นอาหารของตัวเต็มวัยศัตรูธรรมชาติตลอดปี ช่วยให้ศัตรูธรรมชาติสามารถดำรงชีวิต และขยายพันธุ์ได้ดี ในสภาพแวดล้อมที่เหมาสม
  2. เพิ่มความชื้นโดยการฉีดพ่นน้ำ
  3. ไม่เผาตอซังในไร่นาหลังการเก็บเกี่ยว เพราะจะท าลายระบบนิเวศและสมดุลธรรมชาติ
  4. ติดตามสถานการณ์ของศัตรูธรรมชาติและศัตรูพืชอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช้สารเคมีในขณะที่ศัตรูธรรมชาติมีปริมาณสูง และศัตรูพืชถูกควบคุมอยู่ในระดับที่ต่ำ

3. สํารวจแปลงอย่างสมาเสมอ  ในระบบการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน เกษตรกรมีการจัดการดูแลพืชโดยอาศัยขัอมูลสถานการณ์จริงในแปลง แล้ว พิจารณาตัดสินโดยใช้ข้อมูลสถานการณ์ในแปลงปลูกและปฏิบัติการทันทีเมื่อจําเป็น เช่น เก็บไข่หนอน ถอนพืชที่ถูกทําลาย ฯลฯ
4. เกษตรกรเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดการพืช เกษตรกรจะต้องทําการตัดสินใจ จัดการพืชของตนแบบรายวัน ดังนั้น เกษตรกรต้องเรียนรู้ที่จะทําการตัดสินใจโดยอาศัยการ สํารวจแปลง และการวิเคราะห์สถานการณ์แปลงปลูกพืช แต่เนื่องจากสภาวะของพื้นที่เกษตร มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและยังมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เลือกใช้เกษตรกรจึงจำเป็นต้องพัฒนาทักษะ และความรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง

 

การตัดสินใจเลือกใช้วิธีการป้องกันและกําจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน

  1. วิํธีเขตกรรม เพื่อทำให้พืชมีความแข็งแรง เช่นการตัดแต่งกิ่ง ดอก ผล การให้ปุ๋ย การให้น้ำ
  2. วิธีกลและฟิสิกส์ เพื่อลดปริมาณของศัตรูพืช เช่น การจับทำลาย การเผาส่วนของพืชที่เป็นโรค การใช้กับดักแสงไฟ
  3. พ่นสารเคมีด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อใช้สารเคมีอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เช่นเลือกใช้หัวฉีดความดันที่เหมาะสมใช้ปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับเครื่องพ่น และ พื้นที่
  4. ใช้ต้นพันธุ์ปลอดโรคและแมลง เพื่อลดอัตราการตายของต้นพันธุ์ เช่น เลือกซื้อต้นพันธุ์ที่ปลอดโรค แมลงเลือกซื้อต้นพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้
  5. วิธีการสำรวจศัตรูพืช / ศัตรูธรรมชาติเพื่อรู้ว่าจะดำเนินการอย่างไร เช่นการเดินสำรวจ ใช้กับดักตรวจนับ ใช่สารล่อ
  6. วิธีชีววิธี เพื่อใช้ศัตรูธรรมชาติแทนการใช้สารเคมี เช่นการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ โดยเก็บรักษาวัชพืชไว้บางส่วน การปล่อยไรตัวห้ำ มวนตัวห้ำ
  7. การเลือกใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง เพื่อรักษาศัตรูธรรมชาติ และชะลออาการสร้างภูมิต้านทานของศัตรูพืช เช่น เลือกใช้สารเคมีที่เฉพาะเจาะจงใช้สารเคมีเฉพาะบริเวณที่พบศัตรูพืช

 

ศัตรูธรรมชาติและศัตรูพืชที่สามารถควบคุมได้

 

สมุนไพร และ การควบคุมศัตรูพืช

 

 

ข้อเปรียบเทียบระหว่างการใช้สารเคมีและการใช้ชีวภาพควบคุมศัตรูพืช

การใช้สารเคมี
– แก้ปัญหาได้เฉียบพลัน แต่ช่วงเวลาสั้น ๆ
– สิ้นเปลืองเพราะต้องเสียค่าสารเคมีและค่าจ้างฉีดพ่น
– สารเคมีทุกชนิดอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์
– ทําให้แมลงต้านทานสารเคมีและเกิดศัตรูพืชชนิดใหม่
– มีฤทธิ์ตกค้าง เป็นพิษในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม

การใช้สารชีวภาพ

– แก้ปัญหาได้ในระยะยาว
– ประหยัดไม่ต้องซื้อและจ้าง
– ปลอดภัยเพราะอยู่ธรรมชาติ
– ช่วยให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติ
– ไม่มีฤทธิ์ตกค้าง

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง