❝ ราชินีทับทิมสยาม  (Siam Ruby Queen) ข้าวโพดหวานพิเศษสีแดง       เป็นข้าวโพดรสชาติแปลกใหม่ ที่มีสีสันสวยงามรสชาติดีสามารถกินสดได้ทางเลือกใหม่ของเกษตรกร   ปลูกขายสร้างรายได้งาม  

 

อ้างอิงรูปภาพ ; MOST Science Channel

อ้างอิงรูปภาพ ; ไทยรัฐ

ดร. ทวีศักดิ์ ภู่หลำ อดีตอาจารย์ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เป็นที่รู้จักกันดี เนื่องด้วยท่านมีผลงานมากมายอีกทั้งท่านเป็น       1 ใน 5 ของนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดระดับโลก ปัจจุบันท่านเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท สวีทซีดส์ จำกัด

 

      ผลงานชิ้นล่าสุดของ ดร. ทวีศักดิ์ ภู่หลำ คือ การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษสีแดง “ราชินีทับทิมสยาม” (Siam Ruby Queen) ที่ถือว่าเป็นข้าวโพดหวานสีแดงพันธุ์แรกของโลก ที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดโดยฝีมือคนไทย จุดเด่นของข้าวโพดพันธุ์ดังกล่าวมีความโดดเด่นในเรื่องของสีสันสวยสด รวมถึงการมีรสชาติที่แปลกใหม่ มีแป้งน้อยมาก ทำให้ไม่มีอาการท้องอืดเมื่อรับประทานแบบสดๆ จึงสามารถรับประทานสดได้เลย จึงทำให้ได้รสชาติที่หวานและมีความกรอบในตัว และในอนาคตยังมีการพัฒนาและปรับปรุงต่อยอดข้าวโพดหวานสายพันธุ์เดิมให้มีรสชาติที่หวานอร่อยกว่าเดิมอีกด้วย

     การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดสีแดงครั้งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีชีวภาพหรือการตัดต่อยีน ในทุกขั้นตอนเป็นการปรับปรุงพันธุ์พืชแบบดั้งเดิม (conventional breeding) ทั้งสิ้น

     ข้าวโพดหวานพิเศษสีแดง เป็นธัญพืชที่มีสารแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็น สารต่อต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยให้อัตราการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกายลดลง และในเมล็ดข้าวโพด 100 กรัมนั้น ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 8.2 กรัม โปรตีน 11.1 กรัม เกลือแร่ 1.7 กรัม ไขมัน 4.9 กรัม และเส้นไยหยาบอีก 2.1 กรัม มีวิตามินที่มีประโยชน์อีกมากมาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอในรูปเบต้าแคโรทีน วิตามินอีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ รวมถึงลูทีนและซีแซนทิน ซึ่งเป็นสารคาโรตีนอยด์ ช่วยป้องกันตาเสื่อมสภาพ อีกทั้งในข้าวโพดชนิดนี้ ยังมีสารช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็ง ต่างๆ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย 

          

 

                        นายสุรัตน์ ทับทองหลาง อายุ 46 ปี                            บ้านเลขที่ 148 หมู่ 6 ต.ท่างาม อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ได้ทำการเผยว่า

❝ ตนเองนั้นได้เข้าร่วม นโครงการแนวทาง 5 ไร่รอด   ของ ดร.ทวีศักดิ์ มาได้เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปีแล้ว                          เป้าหมายของโครงการนี้คือทฤษฏีการทำการปลูกข้าวโพดหวานฝักสดในพื้นที่ จำนวน 5 ไร่ ให้อยู่รอด ปลูกเองขายเองให้มีข้าวโพดขายทุกวัน มีรายได้อย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากเราลงมือปฏิบัติได้ตามทฤษฏีนี้เราจะได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดเพื่อนำไปขายได้ 300 ฝักต่อวัน ซึ่งเท่ากับว่าเกษตรกรจะมีรายได้ 3,000 บาทต่อวันเช่นกัน ในรอบ 1 เดือนสร้างรายได้เกือบ 1 แสนบาท ใช้เงินลงทุนในการปลูกค่อนข้างต่ำคือซื้อเมล็ดพันธุ์ 500 เมล็ดในราคาเพียง 150 บาท                ถ้าต้องการปลูกบนพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 8,000 เมล็ด                           เก็บผลผลิต ขายได้เมื่อครบ   60 วันนับจากวันลงมือปลูก                   ผลผลิตขายส่งในราคากิโลกรัมละ  35 บาท ( 1 กิโล จะมี 3-4 ฝัก )
     จนปัจจุบันผลผลิตในไร่ ของตนนั้นไม่พอเพียงกับความต้องการ            ของลูกค้ารวมถึงพ่อค้าคนกลางที่จองกันมาล่วงหน้าจากจังหวัดต่าง ๆ

     

      (รวิกานต์ ภู่หลำ 2560)  ในการประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจของข้าวโพดหวานพิเศษสีแดงนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเป็นข้าวโพดหวานลูกผสมชนิดใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก และทำการจำหน่ายได้เป็นระยะเวลาสั้น โดยเริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2559 แต่กระนั้นข้าวโพดหวานพิเศษสีแดงนั้นเป็นที่สนใจของตลาดมาก และมีราคาขายฝักสดสูงกว่าข้าวโพดหวานสีเหลือง

     เกษตรกร ที่ปลูกข้าวโพดหวานพิเศษลูกผสมสีแดงนั้นสามารถขายข้าวโพดหวานฝักสดได้ในราคาถึง 30 บาทต่อฝัก เปรียบเทียบกับข้าวโพดหวานสีเหลืองที่มีราคาขายเฉลี่ยอยู่ 7-8 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น นอกเหนือจากการขายฝักสดเกษตรกรยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตได้อีกด้วยการแปรรูปเบื้องต้น ซึ่งสามารถเพิ่มราคาผลผลิตได้ถึง 150 บาทต่อหีบห่อโดยแต่ละหีบห่อบรรจุข้าวโพดประมาณ 3 ฝัก หรือคือเพิ่มราคาขายได้เป็นฝักละ 50 บาทนั่นเอง โดยที่ต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นจากข้าวโพดหวานสีเหลืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และหากเกษตรกรนำไปแปรรูป ก็ยังจะนำส่วนอื่นของฝักข้าวโพดไปใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย เช่น นำไหมข้าวโพดทำเป็นชาไหมข้าวโพด

 

 

      แหล่งข้อมูลอ้างอิง