ปลูกแตงกวาลอยฟ้าไร้ดิน ลดปัญหาเชื้อรา จากแนวคิดบัณฑิตรักถิ่น สร้างอาชีพทำกินสู่ชุมชน

การปลูกแตงกวาลอยฟ้าเป็นแนวคิดสุดสร้างสรรค์จากเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer : YSF) คนเก่งของอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ที่กล้าคิดกล้าทำ เรียนรู้และปรับเปลี่ยนนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาโรคที่เกิดจากเชื้อราในแตงกวา

 

Photo Gallery แตงกวาลอยฟ้า เพิ่มค่าผักพื้นบ้าน แบบสวนเกษตรเชิงท่องเที่ยว

 

นางสาวไซหละ ยาโก๊ะ อายุ 31 ปีสำเร็จการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ จากวิทยาลัยรัชต์ภาคย์เกษตรกรรุ่นใหม่ (YSF) ผู้ริเริ่มการปลูกแตงกวาลอยฟ้าไร้ดิน ในชุมชนบ้านฮูลูปาเร๊ะ หมู่ 8 ตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งตั้งอยู ่ริมทางรถไฟสาย กรุงเทพ – สุไหงโกลก สายที่ยาวที่สุดของประเทศไทย

นางสาวไซหละ เล่าว่าตนเองได้เริ่มต้นยึดอาชีพการปลูกผัก เป็นอาชีพเสริมหลังจากสมรสกับนายลุกมัน เจ๊ะกอ เมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา และตนเองคิดว่าโชคดีที่ได้คู่ชีวิตที่มี ความชื่นชอบในอาชีพการทำการเกษตรที่เหมือนกัน ทั้งคู่ มีอาชีพหลักคือการรับจ้างกรีดยาง พื้นที่ 15 ไร่ แต่ด้วยปัญหาราคายางตกต่ำ ทำให้รายได้ไม ่เพียงพอ เพราะด้วยภาระครอบครัวที่มีลูกสาวในวัยกำลังกินกำลังนอนถึง 2 คน จึงตัดสินใจหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

 

ปลูก แตงกวาลอยฟ้าไร้ด ิน ลดปัญ หาเชื้อรา

 

ด้วยความตั้งใจและเป็นคนรักการเรียนรู้ ชื่นชอบและผูกพันกับอาชีพการเกษตรมาตั้งแต่เด็ก จึงเริ่มปลูกแตงโม
และแตงกวาในพื้นที่สวนยางต้นเล็ก ซึ่งนิยมปลูกกันมากในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ช่วงเดือนมกราคม ผลิตที่ได้สร้าง
รายได้ให้กับทั้งคู่เป็นอย่างดีแต่ปลูกได้เพียง 3 ปีเท่านั้นเมื่อต้นยางเริ่มโตขึ้นทำให้ต้องมองหาพื้นที่ปลูกใหม่ กลายเป็น
ปัญหาใหญ่ที่สร้างความหนักใจให้กับทั้งคู่ไม่น้อย เนื่องจากพื้นฐานทางครอบครัวที่ไม่ได้มีต้นทุนที่ดินทำกินเป็นของตนเอง
จึงตัดสินใจนำปัญหาไปขอรับคำปรึกษาจากนางรูนี อุมาผู้ใหญ ่บ้านผู้หญิงคนแรกของอำเภอระแงะ และได้รับการ
สนับสนุนจากผู้ใหญ่บ้านเป็นอย่างดีโดยได้ให้ความอนุเคราะห์ในการติดต ่อขออนุญาตใช้พื้นที่รกร้างสองข้างทางรถไฟ
ในชุมชน เพื่อพัฒนาเป็นแปลงปลูกจากการสำรวจตลาดในพื้นที่พบว ่า ราคาผลผลิตแตงกวาในช่วงฤดูฝนค่อนข้างสูง เป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ตนเองสนใจอยากจะพัฒนาวิธีการปลูกแตงกวาเพื่อให้มีผลผลิตได้ในช ่วงดังกล่าว แต่ที่ผ่านมาการปลูกแตงกวาลงดินแบบทั่วไปในพื้นที่มักจะประสบปัญหาเรื่องโรคจากเชื้อรา จึงได้พยายามศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากช่องทางต่างๆ ทั้งสื่อในอินเทอร์เน็ตและสื่ออื่นๆ เพื่อหาวิธีปลูกที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ทั้งคู ่จึงตัดสินใจเริ่มต้นปลูกแตงกวาแบบไร้ดิน

 

7 ผักสวนครัว ปลูกง่าย โตเร็ว ควรปลูกไว้กินที่บ้าน - เมล็ดพันธุ์ผัก  เมล็ดผักสวนครัว : Inspired by LnwShop.com

 

โดยได้เริ่มต้นทดลองเรียนรู้จากพื้นที่เล็กๆ หน้าบ้านพักด้วยการนำขี้เถ้าแกลบหรือแกลบเผามาใช้เป็นวัสดุปลูกบรรจุ
ลงถุงดำแขวนไว้บนราวไม้ไผ่ให้ถุงอยู่สูงจากพื้นดิน ประมาณ50 เซนติเมตร เป็นการประยุกต์เปลี่ยนแปลงจากต้นแบบที่ใช้
ขุยมะพร้าวเป็นวัสดุปลูก เนื่องจากขุยมะพร้าวจัดเป็นวัตถุดิบที่ราคาสูงและหาซื้อยากในพื้นที่ จึงทำให้ต้องทดลองใช้วัสดุปลูกชนิดอื่นที่หาซื้อได้ง่ายกว่า ทั้งนี้แกลบเผาที่ใช้นั้นได้ฟรีมาจากโรงสีข้าวในชุมชน นับเป็นความโชคดีของทั้งคู่ที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งยังคงอนุรักษ์การทำนาข้าวอยู่อย่างเข้มแข็งและมีโรงสีในชุมชนใกล้เคียง หลังจากทดลองปลูกหน้าบ้านแล้วพบว่า แตงกวาเติบโตดีให้ผลผลิตได้จริง จึงต่อยอดขยายผลปลูกเพิ่มรุ่นแรกในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 300 ถุง ในบริเวณพื้นที่สองข้างทางรถไฟที่ได้ขออนุญาตใช้พื้นที่ไว้ นายลุกมัน เจ๊ะกอ สามีนางสาวไซหละ เล่าเสริมว่า ปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ปลูกและผลิตต้นแตงกวาแบบแขวนเพื่อการจำหน่าย จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวัสดุปลูกจากเดิมที่ใช้เพียงแกลบเผา 100% เป็นใช้ดินผสมแกลบเผา อัตราส่วน 2:1 ผสมให้เข้ากัน ใส ่ในถุงดำขนาด 8×10 นิ้ว แขวนไว้ที่ราวไม้ไผ ่ให้ถุงสูงจากพื้นประมาณ 50 เซนติเมตร โดยใช้เชือกฟางเส้นเล็กโยงอุ้มถุงไว้ ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และควบคุมกำจัดศัตรูพืชโดยใช้พืชสมุนไพร ที่หมักไว้จากวัตถุดิบที่มีในพื้นที่จากการส ่งเสริมของเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอระแงะ เพื่อสนับสนุนให้เป็นพืชผักปลอดภัย นอกจากนี้ยังพัฒนาระบบการให้น้ำโดยใช้ระบบน้ำหยด ซึ่งพบว่าทำให้ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตยาวนานขึ้นจากเดิมเก็บได้เพียง 1 เดือน กลายเป็น 2 เดือนในช่วงฤดูแล้ง สำหรับต้นทุนการผลิตเฉลี่ยถุงละ 27 บาท ผลผลิตเฉลี่ย 5 กิโลกรัมต่อต้น เลือกใช้แตงกวาพันธุ์จังโก้สามารถจำหน่ายให้พ่อค้าขายส่งกิโลกรัมละ 18 บาท ราคาขายปลีกกิโลกรัมละ 20 บาท ซึ่งการปลูกแตงกวาในถุงดำลอยฟ้าสามารถปลูกซ้ำได้5 รุ่นต่อ 1 ถุง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการปลูกลงดินแบบทั่วไป ต้นทุนในการจัดการด้านวัชพืชและโรคแมลงจะน้อยกว่า

 

นางสาวไซหละเล่าด้วยความภูมิใจว่า ตนดีใจที่ผลผลิตแตงกวาจากสวนตนเองเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและพ่อค้า
ที่รับซื้อในตลาดมากขึ้น ปัจจุบันส ่งขายให้พ่อค้าในตลาดตันหยงมัส กิโลกรัมละ 18 บาท และขายให้ผู้บริโภคทั่วไป
ในหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังเริ่มเปิดตลาดออนไลน์ผ่านช่องทาง“ตลาดเกษตรสุขใจ” ซึ่งเป็นกลุ่มไลน์ที่จัดตั้งขึ้นโดยสำนักงาน
เกษตรอำเภอระแงะ เพื่อต้องการให้เป็นสื่อกลางสำหรับเกษตรกรและผู้บริโภคได้พูดคุยซื้อขายสินค้าผลผลิตทางการ
เกษตรในพื้นที่ได้โดยตรง นอกจากนี้ยังภูมิใจที่ได้ตัดสินใจเลือกกลับมายึดอาชีพเกษตรกรใช้ชีวิตอย่างพอเพียงในถิ่นฐาน
บ้านเกิดของตนเอง สามารถเลี้ยงดูตนเองและคนในครอบครัวได้เป็นอย่างดีพิสูจน์ให้หลายคนเห็นว่าด้วยอาชีพการเกษตร
ตนสามารถประสบความสำเร็จ และเป็นที่ยอมรับมีเกียรติสร้างชื่อเสียง ความภาคภูมิใจให้ครอบครัวและชุมชนได้จากอาชีพเสริมในอดีต จนปัจจุบันนางสาวไซหละได้พัฒนาอาชีพการเกษตรของตนเองจนกลายเป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้หลักให้กับครอบครัว นอกจากปลูกแตงกวาแล้วยังขยายพื้นที่สำหรับปลูกข่าและตะไคร้เพิ่มเติมเพื่อตัดจำหน่ายส่งให้พ่อค้าในตลาดของอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส รวมพื้นที่ปลูกกว่า 8 ไร่ พร้อมรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรจากเกษตรกรในชุมชน อาทิพืชผักสวนครัว ไม้ผลตามฤดูกาล และขยายผลส่งต่อความรู้เรื่องการปลูกแตงกวาลอยฟ้าให้กับเกษตรกรที่สนใจในพื้นที่ได้นำไปปลูกเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนอีกด้วย จากการประสบผลสำเร็จของนางสาวไซหละ ยาโก๊ะ จึงนับได้ว่าเป็นต้นแบบของเกษตรกรรุ่นใหม่ที่รู้จักการศึกษาตลาด เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการผลิต มีความเข้าใจในเรื่องการตลาดนำการผลิต มีแนวคิดเชิงธุรกิจ มองหาช่องทางการตลาดใหม่ ในขณะเดียวกันก็ใส ่ใจเรื่องการผลิตสินค้าดีที่มีคุณภาพ ปลอดภัยสำหรับผู้ผลิต และผู้บริโภคเป็นเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง รู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์มีรายได้ที่มั่นคงและ “อยู ่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน”

 

 

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถ ติดต่อสอบถามได้ที่นางสาวไซหละ ยาโก๊ะ โทรศัพท์
08 1418 9968 หรือสำนักงานเกษตรอำเภอระแงะ
จังหวัดนราธิวาส 0 7367 1290 และ Facebook
Fanpage : สำนักงานเกษตรอำเภอระแงะ