ชะอมเป็นผักพื้นบ้านอีกหนึ่งชนิดที่คนไทยรู้จักและนิยมรับประทานกันดี ทุกๆบ้านจะใช้พื้นที่ว่างตามรั้วบ้านปลูกชะอมเพียงไม่กี่ต้นเพื่อเก็บไว้รับประทานกันเองในครอบครัวจนถึงปัจจุบันความต้องการบริโภคชะอมที่มีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ปัจจุบันชะอมกลายเป็นพืชเศรษฐกิจอีกหนึ่งชนิดที่เกษตรกรหันมาปลูกในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดนครนายก ทำให้มีเงินสะพัดปีละหลายล้านบาทจากการปลูกชะอมตัดยอดจำหน่ายและตอนกิ่งขายในชุมชนรองจากข้าวและไม้ผลอย่างมะยงชิด

คุณบุญเรือง ปิ่นเกตุ หนึ่งในเกษตรกรที่หันมาให้ความสนใจปลูกชะอมตัดยอดจำหน่ายอยู่ในพื้นที่ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก โดยใช้พื้นที่บริเวณรอบบ้านปรับปรุงให้เป็นพื้นที่ปลูกชะอมพื้นที่ว่างตามริ่มรั่วหรือพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ถูกปรับปรุงเพื่อใช้ปลูกชะอม ปลูกผสมผสานในสวนผลไม้ ซึ่งผลผลิตที่ใด้ส่งจำหน่ายออกไปในรูปแบบมัดกำ ราคากำละ 2-6 บาท สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในช่วงที่รอเก็บเกี่ยวข้าวที่เป็นอาชีพหลัก

“ชะอม เราปลูกประมาณ 2 เดือนขึ้นไป ยอดจะแตกออกมาให้เก็บผลผลิต ยิ่งมีการดูแลที่ถูกวิธีและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอสามารถเก็บยอดได้วันเว้นวัน ซึ่งแต่ละครั้งจะได้ประมาณ 50 กิโลกรัม ในฤดูจะสูงถึง 100 กิโลกรัม”รายได้จากการปลูกชะอม กลายเป็นแรงจูงใจให้คนในตำบลปากพลีทุกหมู่บ้าน หันมาปลูกชะอมเป็นอาชีพเสริมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันพื้นที่บริเวณรั่วบ้านและพื้นที่ว่างเปล่าของทุกครัวเรือนถูกเนรมิตรทำเป็นสวนชะอม พูดได้ว่าบ้านไหนที่ไม่มีต้นชะอมบ้านนั้นถือว่าเชย

ปัจจุบันคุณบุญเรืองมีพื้นที่ปลูกชะอม ทั้งหมด 1 ไร่ โดยพันธุ์ชะอมที่คุณบุญเรืองและชาวบ้านเลือกมาปลูกจะเป็นพันธุ์ที่มียอดขนาดใหญ่และปริมาณยอดมากในหนึ่งต้นคุณบุญเรือน เล่าถึงขั้นตอนการปลูกชะอมให้ได้ปริมาณและยอดอย่างต่อเนื่องให้ฟังว่า หัวใจสำคัญคือระยะของการปลูกระหว่างต้นและแถวต้องมีระยะปลูกที่เหมาะสม

“ระยะปลูกเราใช้ความห่างระหว่างต้น 1 เมตร แถว 1 เมตร หากปลูกชิดกันมากกว่านี้เมื่อต้นชะอมโตขึ้นยอดจะชนกันทำให้ยอดแตกออกมาน้อย แต่ถ้าปลูกให้ในระยที่เหมาะสมคือ 1เมตร (ระหว่างต้นและแถว) จะทำให้ได้ต้นชะอมที่ใหญ่และยอดจำนวนมาก ชะอม เป็นพืชที่ปลูกและดูแลง่าย ขั้นตอนการปลูกลงดินจึงทำไม่ยาก หลังจากปรับพื้นที่เสร็จเรียบร้อย ให้ขุดหลุมที่มีขนาดเท่ากับตุ้มของกิ่งที่ตอน จากนั้นนำกิ่งตอนลงหลุมและกลบดิน รดน้ำ โดยการว่างระบบท่อน้ำสปริงเกอร์ตามแนวของแถวชะอม”

หลังจากปลูกใช้เวลาประมาณสองเดือน ชะอมจะเริ่มออกยอดให้เก็บ แต่ก็ยังไม่มาก ซึ่งหลังจากทำการเก็บยอดชะอมในช่วงเช้าเป็นที่เรียบร้อย จะเริ่มเปิดน้ำและใส่ปุ๋ยเคมี 46-0-0 ปุ๋ยมูลสัตว์ (มูลไก่) บำรุงต้นเพื่อช่วยกระตุ้นให้ต้นแตกกิ่งใหม่แต่สิ่งอื่นใดการทำให้ชะอมออกยอดตลอดนั้นคุณบุญเรืองบอกว่าจะต้องฉีดฮอร์โมนทางใบ ซึ่งที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเข้ามาส่งเสริมและสอนวิธีการทำ

ซึ่งหลังจากมีหน่วยงานราชการเข้ามาค่อยเป็นพี่เลี้ยง ทำให้เราสามารถเกิดการร่วมกลุ่มของสมาชิกผู้ปลูกชะอมทำให้เกิดความเข็มแข็งและมีพลังการต่อรองราคาจากพ่อค้าคนกลางทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องของการตลาดได้ทางหนึ่งในแต่ละปี ต้นชะอมที่ปลูกจะทำการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ซึ่งจะมีคนเข้ามารับเหมาตอนกิ่งละ 2 บาท 1 ปี จะตอนประมาณ 2 รอบ สำหรับต้นแม่ที่สมบูรณ์