ผักบุ้ง ถือว่าเป็นผักท้องถิ่นของคนไทย เป็นผักที่ประกอบอาหารที่ทุกท่านต้องเคยกินไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ อีกทั้งยังมีประโยชน์มากมายหลายประการและยังสามารถสร้างรายได้ให้กับหลายครอบครัวสำหรับข้อมูลพื้นฐานของ ผักบุ้ง เป็นผักแบบไม้เลื้อยล้มลุกมีอายุอยู่ได้นานหลายปี ลำต้นมีลักษณะกลมสีเขียว หรือสีม่วงแดง มีรากออกตามข้อปล้องของลำต้น มักเจริญเติบโตอยู่ตามดินที่ชื้นแฉะหรือในน้ำ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย และเป็นพืชท้องถิ่นของคนไทยมาช้านานแล้ว

ปลูกผักบุ้งในโอ่ง ดีอย่างไร?

ผักบุ้งเป็นผักไม้เลื้อยและเป็นผักล้มลุก แต่มีอายุเก็บเกี่ยวนาน และมีการแตกยอดอยู่เรื่อยๆ ถ้าต้นหลักยังคงได้รับสารอาหารที่เพียงพอ อีกทั้งยังสามารถแตกเป็นต้นใหม่ได้ง่ายด้วยการปักชำ วิธีการปลูกผักบุ้งในโอ่งนี้ดัดแปลงมาจากการปลูกผักบุ้งในนาที่มีน้ำท่วมสูง แต่ผักบุ้งไม้ตาย และสามารถแทงยอดสูงขึ้นพ้นเหนือน้ำได้ ดังนั้นผักบุ้งอยู่ในโอ่งมีความต้องการแสงจำเป็นต้องสร้างลำต้นให้สูงพ้นปากโอ่งเพื่อออกมาสังเคราะห์แสง และการตัดลำต้นผักบุ้งให้ต่ำเกือบโคนจะเป็นวิธีที่ทำให้ผักบุ้งแตกยอดใหม่ได้อย่างต่อเนื่องอีกทั้งยังได้ลำต้นที่เป็นยอดยาวไม่แข็งเหมือนกับการปลูกในแปลงทั่วไป สามารถเก็บเกี่ยวได้นานเที่สารอาหารในโอ่งเพียงพอ

แล้วอุปกรณ์สำหรับการปลูกผักบุ้งในโอ่ง มีอะไรบ้างล่ะ?

– โอ่ง ไม่จำกัดขนาด ไม่ต้องเจาะก้นโอ่ง

– ตะกร้า ไว้สำหรับทำแปลงปลูก ให้เล็กกว่าก้นโอ่งเล็กน้อย หรือไม่มีก็ได้

– ดินปลูก ใช้ดินปลูกผักทั่วไป หรือดินผสมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์แล้ว

– กระสอบเก่า กระดาน หรือตาข่ายเก่า ไว้สำหรับคลุมปากโอ่ง

มาเริ่มปลูกผักบุ้งในโอ่งกันเลย…

ก่อนอื่นให้เรานำดินปลูกที่ผสมแล้วใส่ตะกร้าที่เตรียมไว้ หรือนำดินที่ผสมแล้วใส่ลงในก้นโอ่ง โดยให้ดินมีความสูงจากก้นโอ่งประมาณ 3-5 นิ้ว (ก็เพราะว่าเราไม่ได้เจาะก้นโอ่งเพื่อระบายน้ำออก หากมีการรดน้ำ อาจจะทำให้น้ำมีการขังภายในก้นโอ่ง จึงจำเป็นต้องใช้ระดับดินสูงเล็กน้อยเพื่อป้องกันดินกับน้ำผสมกันจนต้นผักบุ้งล้ม) ตะกร้า ที่เราเอาใส่เข้าไปจะช่วยให้ต้นผักบุ้งยืนต้นได้กรณีน้ำภายในโอ่งมีมากเกินไป เมื่อนำดินลงเรียบร้อยจนได้ระดับดีแล้ว ให้ทำการหยอดเมล็ดผักบุ้ง ส่วนใหญ่ใช้เมล็ดผักบุ้งแก้ว เนื่องจากโตเร็ว ต้นสวย และตลาดมีความนิยม จำนวนเมล็ดที่ใช้ ตามความต้องการ แต่ไม่ควรแน่นจนเกินไป เมื่อหยอดเมล็ดเสร็จแล้วให้รดน้ำจนดินชุ่มแต่ไม่ต้องแฉะนะครับ รอจนกว่าจะผักบุ้งแทงยอดอ่อน แล้วเริ่มใช้กระสอบเก่า หรือตาข่าย ปิดบังแสง (แต่ต้องให้อากาศเข้าได้) ทิ้งไว้อีกระยะจนยอดผักบุ้งสูงเกือบถึงปากโอ่ง จึงสามารถตัดยอดไปรับประทานได้ กรณีไม่มีเมล็ด ผักบุ้งแก้วสามารถนำกิ้งมาปักชำได้เลย แต่การปักชำกิ่งผักบุ้งแก้ว จำเป็นต้องรดน้ำให้ดินปลูกแฉะ หรือน้ำท่วมดินปลูกเล็กน้อย แล้วเริ่มปักชำได้เลย จำนวนตามต้องการแต่ไม่ควรแน่นจนเกินไป และเมื่อเสร็จแล้วใช้ตาข่ายปิดปากโอ่ง รอจนกว่าผักบุ้งจะแตกยอดใหม่ และตัดยอดนำไปรับประทานได้เลย หรือจะนำไปจำหน่ายก็ได้ เพราะผักบุ้งแก้วเป็นที่นิยมของตลาด

สูตรน้ำหมักชีวภาพสำหรับบำรุงดิน

1. น้ำ

2. ผักบุ้ง 2 กิโลกรัม

3. หยวกกล้วยอ่อน 3 กิโลกรัม

4 . กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม

วิธีการทำหมักน้ำหมักชีวภาพ : นำผักบุ้งกับหยวกกล้วยมัดรวมกัน เทน้ำและกากน้ำตาลผสมรวมกัน ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนก่อนนำไปใช้ เมื่อครบกำหนดใช้น้ำหมัก 3 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นทางใบ การใส่น้ำหมักชีวภาพลงไปในแปลง จะเป็นการช่วยสร้างแพลนตอนในน้ำ และไม่ทำให้น้ำในแปลงเน่าเสีย

ขอบคุณที่มา เกษตรทูเดย์