การสร้างรายได้จากการนำมะพร้าวมาแปรรูปเป็นมะพร้าวกะทิ ซึ่งหลายๆคนต่างจะยังไม่รู้วิธีกัน ในวันนี้เราได้มีเคล็ดลับดีๆมาส่งต่อให้กับเพื่อนๆทุกๆคน ถึงการทำมะพร้าวกะทิที่สร้างรายได้ให้กับหลายๆท่านเป็นกอบเป็นกำ ขั้นตอนการทำก็ง่ายมากๆ เรามาดูกันเลยว่าต้องเตรียมอะไรและมีวิธีการทำอย่างไรบ้าง

มะพร้าวกะทิ ทำอะไรทานได้บ้าง?

ส่วนใหญ่ นิยมเอาเนื้อ “มะพร้าว กะทิ” ไปใส่น้ำแข็งไสผสมน้ำเชื่อมโดยใช้ ช้อนคว้านเป็นชิ้นพอคำ หรือใช้ช้อนตัก กินเฉยๆก็ได้ รสชาติหวานมันอร่อยมาก ปัจจุบันนิยมคว้านใส่ไอศกรีม ทำบัวลอย “มะพร้าวกะทิ” ขายตามร้านอาหาร ภัตตาคารดังๆ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ซึ่งมีหลากหลายทางด้วยกัน เกษตรกรหรือนักวิจัยจะมีแบบฉบับของแต่ละคน แต่วันนี้ขอหยิบวิธีการทำมะพร้าวธรรมดา ให้กลายเป็นมะพร้าวกะทิมาให้ทดลองทำกันดู

วิธีที่ 1 ทำจากมะพร้าวพันธุ์อะไรก็ได้

ถ้าต้องการให้ลูกออกมาเป็นมะพร้าวกะทิ ก็เอาถุงพลาสติกหุ้มจั่น จั่นก็คือดอกมะพร้าว 1 จั่นคือ 1 ทะลาย จั่นไหนถูกห่อด้วยพลาสติก จั่นนั้น หรือทลายดอกนั้นมันจะพิการ

ทั้งนี้ จะต้องห่อตั่งแต่กลีบจั่นเริ่มแย้มบาน ห่อไปจนกระทั่งมีลูกขนาดลูกหมากจึงค่อยเอาออกโดยทั่วไปมะพร้าวในทะลายที่ห่อจั่นประมาณ 80-90 % จะเป็นมะพร้าวกะทิ

วิธีนี้เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบชั่วคราวมะพร้าวในทะลายอื่นๆ ที่ไม่ได้ห่อจั่นจะไม่เป็นมะพร้าวกะทิ

วิธีที่ 2 ทำมะพร้าวกะทิแบบถาวร

ให้น้ำมะพร้าวที่เพาะไว้ ที่มีหน่อเหนือเปลือกขึ้นมาราว 30 ซม. แล้วใช้มีดตัดส่วนปลาย ตรงข้ามกับหน่อให้กะลามะพร้าวขาด จนเห็นเนื้อสีขาว และจาวสีเหลืองภายในกะลามะพร้าว

จากนั้นก็คว้านเอาจาวที่อยู่กลางกะลาออก เอาดินเหนียวอัดลงไปในกะลาแทนจาวจนเต็ม ให้แน่นพอประมาณสามารถนำไปปลูกได้

มะพร้าวที่ทำวิธีนี้จะเป็นมะพร้าวกะทิประมาณ 50% หากจะเพิ่มปริมาณ ก็สามารถทำได้ โดยให้เอาผลมะพร้าวที่ไม่เป็นมะ พร้าวกะทิ มาเพาะ แล้วทำวิธีการเดียวกับที่กล่าวมานี้ ก็จะทำให้มะพร้าวในต้นใหม่เป็นมะพร้าวกะทิ ได้ถึง 80-90% เลยทีเดียว มะพร้าวทุกพันธุ์สามารถทำมะพร้าวกะทิได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าเราจะใช้มะพร้าวน้ำหอม ทำมะพร้าวกะทิไม่ดีเพราะมีกลิ่นเหม็นหืน มะพร้าวที่ดีที่สุดในการทำมะพร้าวกะทิคือ มะพร้าวกลาง

ติดผลเป็นทะลายปล่อยให้ผลแก่คาต้นก่อน ตัดทะลายลงมา เอาผลแต่ละผลเขย่าฟังดูถ้าไม่ได้ยินเสียงน้ำในผลดังกระฉอกมาเลย นั่นหมายถึงมะพร้าวผลนั้นเป็น “ มะพร้าวกะทิ ” อย่างแน่นอนไม่ต้องปอกเปลือก หรือทุบดูเนื้อในทุกผลให้เสียเวลา ทำหรือฝึกบ่อยๆ เราจึงจะชำนาญ ช่วงแรกๆ อาจมีผิดบ้างเป็นธรรมดา คนโบราณก็ใช้วิธีแบบนี้เหมือนกัน