Four Farm
พืชไร่

บุก ! พืชหัวเศรษฐกิจ สรรพคุณมากมาย

บุกเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ที่มีความนิยมรับประทานส่วนหัว เพราะมีประโยชน์มากมาย เช่น สารกลูโคแมนแนน (Glucomannan) ที่ช่วนในการลดความอ้วน เป็นต้น อีกทั้งบุกยังสามารถนำมาแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าได้อีกหลากหลาย ทำให้บุกนั้นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

วิธีการปลูก

การเตรียมแปลงปลูก

ทำการไถดะ ไถพรวน แล้วยกร่องกว้าง 60 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างร่อง 50 เซนติเมตร

การปลูก
การปลูกด้วยหัวใต้ดิน

หัวพันธุ์ ขนาดกลางขนาด 200-400 กรัม/หัว และชิ้นพันธุ์น้ำหนัก 200-250 กรัม/ชิ้น โดยใช้ระยะปลูก 30 x 30 เซนติเมตร
ฝังดินหัวพันธุ์ ฝังโดยหันหน่อกลางขึ้นด้านบน ส่วนชิ้นพันธุ์ฝังโดยหันด้านที่ผ่าลงก้นหลุม ให้ส่วนหัวอยู่ลึกจากผิวดิน 5 เซนติเมตร โดยหน่อจะฝังดินหรือโผล่ขึ้นมาก็ได้
– ให้น้ำหลังปลูกครั้งแรกให้ชุ่มแต่ไม่ขังแฉะต้องระวังหัวเน่า
– ช่วงฝนทิ้งช่วงให้น้ำ 7 วัน/ครั้ง

การปลูกด้วยหัวบนใบ

– ใช้ระยะปลูก 30 x 20 เซนติเมตร
– หัวที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 กรัม ต้องทำแปลงหว่านให้งอกเสียก่อนจึงนำไปปลูกในแปลงพันธุ์ต่อไป
– หัวบนใบที่มีขนาด 2.5-20 กรัมปลูกลงแปลงหัวพันธุ์ได้โดยขุดหลุมให้ลึกจากผิวดิน 3 เซนติเมตร วางให้ส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งขึ้นแล้วกลบดิน
– คลุมร่องด้วยฟางเพื่อรักษาความชุ่มชื้น
– ให้น้ำหลังปลูกทุก 3-5 วัน ในช่วงแล้ง

การดูแลรักษา

การพรางแสง ตั้งโครงตาข่ายสูงจากพื้นดินประมาณ 1.5 – 2 เมตร แล้วกางตาข่ายพรางแสงคลุมทั่วแปลง โดยใช้ตาข่ายพรางแสง 50 % หรือเลือกใช้ไม้ยืนต้นพรางแสง ควรใช้ไม้ที่มีใบเล็ก ผลัดใบในฤดูแล้งและมีใบโปร่งในฤดูฝน มีอายุใบ 4-5 เดือน เช่น ประดู่อ่อน
การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 โดยใส่แบบหว่านบนร่อง 2 ครั้ง ๆ ละ 30 กิโลกรัมต่อไร่ หลังปลูกประมาณ 1 เดือนครึ่ง และ 3 เดือน หรือในครั้งที่ 2 อาจใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในอัตราเท่ากันจะให้ผลดีขึ้น ถ้าดินอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ให้ใส่ปุ๋ยคอก 1.5 – 3 ตันต่อไร่ก่อนปลูก
การกำจัดวัชพืช แปลงหัวพันธุ์ควรทำการกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 3 ครั้ง แปลงผลิตควรทำการกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 2 ครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ ก่อนการใส่ปุ๋ยแต่ละครั้ง โดยใช้มือถอนบนร่องและใช้จอบดายหญ้าระหว่างร่อง ส่วนการกลบโคนต้นจะทำเพียงครั้งเดียว ช่วงก่อนการใส่ปุ๋ยครั้งแรกเท่านั้น
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
โรคเน่า ที่เกิดจากเชื้อ Erwinia carotovora จะเข้าทำลายต้นบุกทางหัวใต้ดินและเส้นใบที่หักหรือเป็นแผลทำให้หัวเน่าและมีกลิ่นเหม็น แล้วลุกลามไปยังส่วนของต้นทำให้ต้นหักพับลงมา ป้องกันและกำจัดโดยใช้หัวพันธุ์ที่ไม่เป็นโรคมาปลูกหมั่นตรวจสอบแปลงปลูก ถ้าพบโรคให้ขุดต้นและดินรอบ ๆ ต้นรัศมี 10 นิ้ว ไปทิ้งหรือฝังทำลาย แล้วโรยปูนขาวบริเวณที่ขุดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อหนอนแก้ว (Theretra sp.) ทำลายต้นบุกโดยกัดกินใบ กำจัดโดยจับไปทำลาย

ประโยชน์ของบุก

          หัวบุก เป็นพืชที่รู้จักกันดีในแถบประเทศเอเชีย โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่รู้จักบุกในชื่อ คอนยัค (Konjac) และเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากบุกเป็นประเทศแรกๆ เนื่องจากมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยควบคุมอาการของโรคเบาหวานได้ดี มีเส้นใยมาก และมีสรรพคุณทางยาอีกหลายด้าน นอกจากนั้น บุกยังมีประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่
– นำมาแปรรูปเป็นแป้งบุกสำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อาทิ ทำขนมหวาน เส้นก๋วยเตี๋ยว ทำไส้กรอก ทำวุ้นเส้น ทำเส้นหมี่ เป็นต้น
– แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในรูปของผงในแคปซูล
– แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารในรูปของผงสำหรับชงดื่ม
– นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
– นำมาฝานเป็นแผ่น ตากแห้ง และนำมานึ่งรับประทาน
– หัวนำมาต้มหรือนึ่งรับประทาน หรือทำเป็นของหวาน
– หัวนำมาประกอบเป็นอาหารคาวร่วมกับเนื้อสัตว์ได้หลายเมนู
– ลำต้นนำมาประกอบอาหาร เช่น บุกอีลอกนำมาทำแกง เป็นต้น
– ใบ ลำต้น และหัวบุก ใช้เป็นเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์

สารสำคัญที่พบ

          สารสำคัญที่พบมีสรรพคุณทางยาในบุกที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักในการลดความอ้วน และควบคุมน้ำหนัก คือ “กลูโคแมนแนน” (Glucomannan) ซึ่งเป็นใยอาหารกลุ่มที่ละลายน้ำได้ หรือเป็นไฟเบอร์คล้ายเจล พบมากที่สุดในรากหรือหัวของต้นบุก ซึ่งมีชื่อในภาษาญี่ปุ่นว่า Konjac

 

 

 

แหล่งที่มา

ขอขอบคุณ : เทคโนโลยีชาวบ้าน / พืชเกษตร / ข่าวสด / thaiorganica

Related posts

โกโก้ พืชเสริม สร้างอนาคตให้กับเกษตรกร

admin
5 years ago

ทางเลือกใหม่ของการกินไก่ สำหรับ “คนเป็นเกาต์”

admin
5 years ago

5 แมลงนักล่า ช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชในแปลงได้

admin
5 years ago
Exit mobile version