Four Farm
ผลไม้

การขอ GAP เพื่อยกระดับการเกษตรของไทย

ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีรากฐานมาจากเกษตรกรรม แต่เกษตรกรของไทยนั้นขาดความรู้ ความเข้าใจ ในด้านของการจัดการในการทำการเกษตร ทำให้รายได้ที่เกษตรกรได้รับจากการขายสินค้านั้นไม่สูงมากนั้น ด้วยเหตุผลหลายๆประการ รวมถึงการที่สินค้าเกษตรของเกษตรกรไทยไม่มีมาตรฐานที่แสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของสินค้า วันนี้เราจึงมีวิธีการขอมาตรฐานการผลิตการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) มาแนะนำ เพื่อให้เกษตรกรของไทยได้มีความเข้าใจและยกระดับความน่าเชื่อถือของสินค้าเกษตรไทยด้วย

GAP คืออะไร??

         การผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม หรือ Good Agriculture Practices (GAP) หมายถึง แนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

คู่มือการเพาะปลูกพืชตามหลัก GAP สำหรับพืชที่สำคัญของไทยจำนวน 24 ชนิด ประกอบด้วย

ผลไม้ ทุเรียน ลำไย กล้วยไม้ สับปะรด ส้มโอ มะม่วง และส้มเขียวหวาน
พืชผัก มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลี พริก ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ผักกาดขาวปลี ข้าวโพดฝักอ่อน หัวหอมปลี และหัวหอมแบ่ง
ไม้ดอก กล้วยไม้ตัดดอก และปทุมมา
พืชอื่นๆ กาแฟโรบัสต้า มันสำปะหลัง และยางพารา
คุณสมบัติของเกษตรกร

การปฏิบัติให้ได้ GAP 

สถานที่ยื่นขอรับมาตรฐาน GAP 

เกษตรกรที่ต้องการขอการรับรองแหล่งผลิต GAP สามารถยื่นใบสมัครเพื่อขอการรับรองได้ที่หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร ทุกแห่งทั่วประเทศโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยมีเอกสารและหลักฐานที่ต้องยื่นดังต่อไปนี้คือ

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ต้องการขอการรับรอง
2. ใบสมัครขอการรับรอง

 

 

แหล่งที่มา

ขอขอบคุณ : FarmFriend / สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร

Related posts

การปลูกผักหวานป่าเชิงระบบ

Kaset Pro
2 years ago

5 พืชสมุนไพรถอนพิษ

Kaset Pro
2 years ago

“พริกด่างญี่ปุ่น” พืชผักสวนครัว ผลทานได้

Kaset Pro
2 years ago
Exit mobile version